สถิติ
เปิดเมื่อ21/02/2012
อัพเดท13/06/2016
ผู้เข้าชม281695
แสดงหน้า489386
สินค้า
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    




กลโกงเล่ห์เหลี่ยมของทุรกรรมเหล็กไหล

22/08/2013 16:20 เมื่อ 22/08/2013 อ่าน 3466
กลโกงเล่ห์เหลี่ยมของทุรกรรมเหล็กไหล
 
       จากความเชื่อเรื่องปาฏิหาริย์หรือความวิเศษของเหล็กไหล ทำให้เกิดการหาผลประโยชน์จากความเชื่อดังกล่าวมากมาย ประเด็นที่ถูกหยิบยกในเรื่องของอานุภาพของเหล็กไหลมีมากมายอาทิ การดับดินปืน การดับพิษน้ำกรด เป็นเพื่อการโฆษณาชวนเชื่อให้ผู้สนใจครอบครองมีความต้องการมากขึ้นและนำมาซึ่งการเสียเงินเสียทองให้ผู้หลอกลวง ต่อไปจะขอชี้แจงประเด็นการกล่าวอ้างด้านอานุภาพดังกล่าวไว้ 2 ประเด็น ดังนี้.

1. กลเม็ดการดับดินปืน
 
      การยิงทดสอบเหล็กไหลด้วยปืน เป็นวิธีหนึ่งที่ถูกนำมาทดสอบบ่อยๆ ซึ่งการทดสอบจะเป็นเล่ห์กลโกงที่ทำให้ลูกกระสุนไม่ทำงานตามหน้าที่ โดยผู้ที่มีความรู้ด้านกระสุนปืนทำการหลอกลวง ทำเป็นขบวนการ ยกตัวอย่าง ผู้หลอกลวงจะทำดินปืนขึ้นมาสองชุดหรือมากกว่า นำชุดหนึ่งไปทำให้ดินปืนเสื่อมสภาพโดยสลับแช่น้ำร้อนและน้ำเย็นหลายๆ ครั้งจนปลอกลูกปืนขยายทำให้ไอน้ำซึมเข้าทำลายสภาพดินปืนให้เสื่อม หรือนำดินปืนแช่น้ำร้อนแล้วแช่ตู้เย็นหรือน้ำเย็นจัด ดินปืนจะเสีย ยิงไม่ออก ส่วนกลเม็ดในการสับเปลี่ยนลูกปืนที่ยังดีอยู่กับลูกปืนที่เล่นกลเป็นกลยุทธ์ที่ฝึกความไวของมือ และเทคนิคการบังมุมเหมือนนักเล่นกล

2. กลเม็ดการดับพิษน้ำกรด
 
  เป็นวิธีที่ผู้หลอกลวงอ้างว่า การกินหรืออาบน้ำมนต์เหล็กไหลจะสามารถคงทนป้องกันอันตรายได้ แม้กระทั่งน้ำกรด โดยผู้หลอกลวงท้าให้ผู้สนใจลองกำเหล็กไหลแล้วนำมือแช่ในน้ำกรด ซึ่งผู้หลอกลวงจะนำเอาเหล็กหรือตะปูแช่น้ำกรดให้ดูซึ่งฤทธิ์ของน้ำกรดจะทำลายตะปูจนกร่อนให้เห็น จากนั้นผู้หลอกลวงจะดื่มน้ำมนต์หรือเอามือแช่น้ำมนต์ แล้วเอาน้ำกรดลองราดมือดูหรือให้นำมือจุ่มลงไปในน้ำกรดดู จะปรากฏว่า มือไม่เป็นไร ถือเป็นความอัศจรรย์เป็นที่ตื่นตาตื่นใจ ซึ่งแท้จริงตามหลักวิชาเคมี มีน้ำกรดบางชนิดจะทำปฏิกิริยากับวัตถุแต่ไม่ทำปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อหรือโปรตีน อีกทั้งการแช่น้ำกรดไม่ได้มีการแช่เป็นเวลานาน จึงทำให้กรดที่ว่าร้ายแรงนั้นจึงไม่เป็นอันตราย และน้ำมนต์ที่ทำอาจจะผสมสารที่เป็นด่างเช่น แชมพู สบู่เหลว เมื่อแช่น้ำมนต์ที่ผสมสารที่เป็นด่างก่อน มือจะเคลือบด่าง และเมื่อนำมาแช่น้ำกรด ด่างจะเกิดปฏิกิริยากับกรดทำให้เป็นกลางแทนจึงไม่เป็นอันตรายต่อผู้หลอกลวง


ผู้เขียนบทความ : อาจารย์โชติ  ริยาพันธ์
Email : [email protected], [email protected]
หมายเลขเบอร์โทร : 08-9871-9979, 08-1838-6888